เบื้องหลังตลาด

การขายชอร์ต คืออะไร? พร้อมรู้จักกับกลยุทธ์และช่วงเวลาที่กับการขายชอร์ต

ด้วย Team Exness

4124-post-5-What is Short Selling

เชื่อว่าช่วงหลังๆ มานี้ หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า Short Sell หรือ ขายชอร์ต กันมาหนาหูเรื่อยๆ แล้ว ขายชอร์ตที่ว่านี้คืออะไร มีกลยุทธ์/กระบวนการแบบไหน ข้อดี/ข้อเสีย หรือส่งผลกระทบอย่างไรกับตลาดกันบ้าง? ในบทความนี้ เราจะชวนคุณมารู้จักกับการขายชอร์ตกัน

การขายชอร์ต คืออะไร? และการ Short หุ้น ทําอย่างไร?

ธุรกรรม Short Selling หรือ ขายชอร์ต คือ หนึ่งในธุรกรรมการเทรดในตลาดหุ้น โดยทั่วไปแล้วเราอาจจะคุ้นเคยกันในกรณีที่เมื่อได้หุ้นด้วยการซื้อมาแล้วก็เก็บหุ้นเอาไว้เพื่อที่หลังจากนั้นในวันหนึ่งก็นำไปขายเพื่อส่งมอบหุ้นที่ตนเองถือไว้ไปยังผู้อื่น

แต่ธุรกรรมขายชอร์ต คือ ธุรกรรมที่เราสามารถขายหุ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของหุ้น แต่จะเป็นวิธีการที่ไปขอยืมหุ้นผู้อื่นมาก่อน 

คำถามต่อมาคือ แล้วทำไมถึงเลือกที่จะ ขายชอร์ตหุ้น?

คำตอบคือ มีหลายเหตุผลมากๆ ที่อาจเป็นไปได้เบื้องหลังการตัดสินใจเช่นนั้น เช่น คาดหวังว่าราคาหุ้นจะลงแต่ตนเองยังไม่ได้ซื้อหุ้นเอาไว้ ทำให้อาจจะไปขอยืมหุ้นคนอื่นมาขายไว้ก่อน หลังจากนั้นเมื่อราคาหุ้นลงมาจริงๆ ก็ไปซื้อคืนและนำหุ้นไปส่งมอบ 

ดังนั้น ธุรกรรมการขายชอร์ต ประกอบไปด้วย 4 ธุรกรรม ได้แก่ 1. ยืมหุ้นที่จะขายชอร์ต(มาจากนักลงทุนคนอื่น) 2. ขายหุ้นที่ราคาตลาดไปและได้เงินสดกลับมา(แต่เงินนั้นต้องวงไว้เป็นหลักประกัน) 3. ซื้อหุ้นมาคืน (หากราคาต่ำกว่าจะซื้อในราคาถูกกว่าตอนขายและได้กำไร) 4. ส่งมอบหุ้นคืนเจ้าของหุ้นเดิม

ผู้ลงทุน >> ยืมหุ้นมาขาย (Short Selling) โดยถ้าหาก

→ ซื้อหุ้นคืนในราคาที่สูงกว่าที่ขายไป = กำไร

→ ซื้อหุ้นคืนได้ในราคาที่ถูกกว่าที่ขายไป = ขาดทุน

อย่างไรก็ตาม การขายในลักษณะของขายชอร์ตนั้นมีความเสี่ยง หากการขายชอร์ตนั้นไม่ได้ทำการยืมหลักทรัพย์ก่อนการทำการขายชอร์ตหุ้น เพื่อใช้ในการส่งมองเมื่อถึงเวลาที่กำหนด หรือที่เรียกว่า Naked Short Selling ซึ่งการผิดนัดเพื่อส่งมอบหุ้นนี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเชิงระบบได้

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว หลายๆ ตลาดหลักทรัพย์จึงมีกฎหมายหรือหลักเกณฑ์การห้ามทำการขายชอร์ตในลักษณะ Naked Short Selling

Naked Short คือ ธุรกรรมที่ขายหุ้นโดยไม่มีหุ้นอยู่ในมือและไม่ยืม เป็นการบิดเบือนตลาดด้วยหุ้นที่ไม่มีอยู่จริงและยังสร้างความเสี่ยงให้กับตลาดเพราะเมื่อถึงเวลาส่งมอบจริงไม่มีหุ้นมาส่งมอบ

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าก่อนทำการส่งคำสั่งขายจะมีกระบวนการเพื่อตรวจสอบตลอดว่ามีผู้ขายมีหลักฐานไหมว่ามีหุ้นอยู่ในมือ หรือหากเป็นการชอร์ตก็จะมีการตรวจสอบว่ามีหลักฐานหรือไม่เช่นเดียวกันเพื่อป้องกันการ Naked Short

และสำหรับในประเทศไทยเอง ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการพัฒนากลักเกณฑ์กำกับดูแลการขายชอร์ตเช่นกัน โดยห้ามทำการ Naked Short Selling อีกทั้งยังมีการกำหนดกลักเกณฑ์อนุญาตให้ทำการขายชอร์ตได้ที่ราคาไม่ต่ำกว่าราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Zero Plus Tick Rule) เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบสภาพการซื้อขาย หรือชี้นำให้ราคาหลักทรัพย์ผิดไปจากสภาพการซื้อขายปกติอีกด้วย

ประโยชน์ของการทำธุรกรรมขายชอร์ตหุ้น

  • Short Sell หรือ ขายชอร์ตหุ้น จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นในตลาด และป้องกันการปั่นราคาหุ้น

  • Short Sell หรือ ขายชอร์ตหุ้น จะช่วยกระบวนการค้นหาราคา (Price Discovery) ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่

  • Short Sell หรือ ขายชอร์ตหุ้น จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการตลาดทุน เพราะเป็นธุรกรรมที่มีความจำเป็นมากของการเทรดที่เกี่ยวข้องกับหุ้นนั้นๆ

3 ตัวชี้วัดที่จะบอกคุณว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะสำหรับการขายชอร์ต?

Moving Averages (MAs)

  • จุดเด่น: ช่วยแสดงทิศทางและโมเมนตัมของราคาหุ้น สามารถใช้หลายเส้น MA เพื่อเปรียบเทียบ 

(เช่น 50 วัน, 100 วัน, 200 วัน)

  • ข้อจำกัด: การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาช้า อาจไม่เหมาะสำหรับการระบุจุดเข้าซื้อขายที่แม่นยำ

Relative Strength Index (RSI)

  • จุดเด่น: วัดแรงซื้อแรงขาย ช่วยประเมินภาวะ Overbought (ซื้อมากเกินไป) หรือ Oversold (ขายมากเกินไป) ซึ่งอาจเป็นสัญญาณกลับตัวของราคา

  • ข้อจำกัด: ไม่ได้คำนึงถึงกรอบราคา อาจเกิดสัญญาณหลอก (False Signal) ได้บ่อย

Bollinger Bands

  • จุดเด่น: แสดงแนวโน้ม (Trend) และความผันผวนของราคา ราคาที่เคลื่อนไหวแตะขอบบนหรือล่างของ Bollinger Bands อาจเป็นสัญญาณกลับตัว

  • ข้อจำกัด: ใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ไม่ได้การันตีการเปลี่ยนแปลงราคาที่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้ไม่ควรเลือกใช้เพียงตัวชี้วัดเดียว ควรกำหนดตั้งจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) เพื่อจำกัดความเสี่ยง และควรทดสอบกลยุทธ์บนบัญชีเสมือนก่อนลงทุนจริง

3 กลยุทธ์การขายชอร์ต

ถึงแม้การขายชอร์ตจะเป็นการยืมหุ้นมาขายเพื่อรอซื้อคืน แต่ก็ยังมีกลยุทธ์ต่างๆ ที่นักลงทุนสามารถเลือกใช้ได้ประกอบการทำการขายชอร์ต ดังนี้

1. กลยุทธ์การขายชอร์ตแบบพื้นฐาน (Basic Shorting)

เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่หรือผู้ที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้น เช่น งบการเงิน ประเภทธุรกิจ แนวโน้มอุตสาหกรรม เลือกหุ้นที่มีมูลค่าแพงเกินไปหรือมีแนวโน้มผลประกอบการแย่ ขายชอร์ตเมื่อราคาหุ้นสูง และซื้อคืนเมื่อราคาหุ้นลดลง

ข้อดีของกลยุทธ์นี้คือ เข้าใจง่าย มีความเสี่ยงต่ำกว่ากลยุทธ์อื่น ส่วนข้อเสียคือ ผลตอบแทนอาจไม่สูงมากและต้องใช้เวลาในการรอราคาหุ้นลดลง

2. กลยุทธ์การขายชอร์ตแบบเทคนิค (Technical Shorting)

กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์การใช้เครื่องมือทางเทคนิค โดยใช้หลักการการใช้เครื่องมือทางเทคนิค เช่น MAs, RSI, Bollinger Bands เพื่อช่วยวิเคราะห์แนวโน้มและจังหวะการซื้อขาย 

ขายชอร์ตเมื่อสัญญาณทางเทคนิคบ่งบอกถึงแนวโน้มขาลง และซื้อคืนเมื่อสัญญาณเปลี่ยน

ข้อดีของกลยุทธ์นี้คือ อาจทำกำไรได้เร็วกว่ากลยุทธ์แบบพื้นฐาน ส่วนข้อเสียคือ มีความซับซ้อน ต้องอาศัยทักษะการวิเคราะห์ทางเทคนิค และอาจเกิดสัญญาณหลอกได้

3. กลยุทธ์การขายชอร์ตแบบผสมผสาน (Combined Shorting)

กลยุทธ์การขายชอร์ตแบบผสมผสานนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์และต้องการผลตอบแทนสูง โดยหลักการคือ จะผสมผสานกลยุทธ์การขายชอร์ตแบบพื้นฐานและแบบเทคนิค ใช้การวิเคราะห์พื้นฐานเพื่อเลือกหุ้น และใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อกำหนดจังหวะการเข้า-ออกนั่นเอง

ข้อดีคือ อาจทำกำไรได้สูงกว่ากลยุทธ์อื่น ส่วนข้อเสียคือ เป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด ซับซ้อนที่สุด จึงจำเป็นจะต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์ทั้งด้านพื้นฐานและเทคนิคเข้ามาประกอบ

เทคนิคขายชอร์ตที่นักลงทุนนิยมใช้

  • ขายช่วงพักตัวในขาลง: การขายนี้เกิดขึ้นหลังจากหลักทรัพย์มีการดีดกลับหรือพักตัวชั่วคราวภายในแนวโน้มขาลงโดยรวม  คุณคาดหวังว่าแนวโน้มขาลงจะดำเนินต่อไป นำไปสู่กำไรเมื่อราคากลับมาลดลง

  • เข้าระหว่างกรอบเทรดและรอจุดทะลุกรอบ: การนี้หมายถึงการเปิดสถานะขายชอร์ตขณะที่หุ้นแกว่งไปมาระหว่างสองราคาโดยไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน  คุณรอ "จุดทะลุกรอบ" ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับแนวรับของกรอบ (ราคาที่มักไม่ตกลงไปต่ำกว่านั้น)  สิ่งนี้บ่งบอกว่าราคาหุ้นอาจลดลงต่อไป ทำให้การขายชอร์ตน่าสนใจ

  • ขายตอนที่ราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง: การนี้เกี่ยวข้องกับการขายชอร์ตหุ้นในช่วงที่มีแนวโน้มขาลงที่ชัดเจน  คุณต้องการใช้ประโยชน์จากโมเมนตัมของแนวโน้มขาลง คาดการณ์ว่าราคาจะลดลงต่อไปเพื่อให้ได้กำไรจากการขายชอร์ต  กลยุทธ์นี้อาจเสี่ยงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการพูดถึงหุ้นและคนอื่นๆ กำลังเข้ามาขายชอร์ตด้วย ซึ่งอาจส่งผลเสียหากคุณเจอกับราคาที่ดีดกลับเนื่องจากความต้องการ

สรุป

ไม่ว่าสไตล์การเทรดของคุณจะเป็นแบบไหน การวิเคราะห์ตลาดก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรรู้และศึกษา และการขายชอร์ตมีความเสี่ยงสูง ราคาหุ้นอาจขึ้นได้ไม่จำกัด นอกจากนี้ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้เกิดความสมดุลของตลาดหุ้น แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง นักลงทุนควรรู้จักบริหารความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจลงทุน


ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ


ผู้เขียน:

Team Exness

Team Exness