วิธีการเทรดดัชนี: กลยุทธ์ต่างๆ และข้อดีในการเทรดดัชนี

โดย Katerina Parpa
ผู้สื่อข่าวด้านการเงิน
ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ
แชร์
ในคู่มือฉบับนี้:
- ดัชนีคืออะไร
- ข้อดีและความเสี่ยงของการเทรดดัชนี
- การเทรดดัชนีระยะสั้นและการเทรดดัชนีระยะยาว
- เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเทรดดัชนี
- ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาของดัชนี
- วิธีคำนวณดัชนีตลาดหุ้น
- กลยุทธ์การเทรดดัชนีขั้นสูง
- การบริหารความเสี่ยงในการเทรดดัชนี
- ทำไมต้องเทรดดัชนีเมื่อเทียบกับการเทรดหุ้นและฟอเร็กซ์
- วิธีเทรดดัชนีตลาดหุ้น
- สิ่งที่จะคุณได้รับเมื่อเทรดดัชนีกับ Exness
การทำความเข้าใจการเทรดดัชนีคือก้าวแรกสู่การเรียนรู้ตลาดการเงินที่ซับซ้อน ดัชนีเปรียบเสมือนเครื่องวัดสุขภาพและผลการดำเนินงานของกลุ่มหุ้นบางกลุ่มในตลาดหุ้น ดัชนีอย่าง S&P 500 และดัชนี Dow Jones เกิดจากการรวมกลุ่มของหุ้นรายตัวต่างๆ ซึ่งใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาพของตลาดหุ้นโดยรวม การเทรดดัชนีเป็นการลงทุนที่น่าสนใจเนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น การเข้าถึงตลาดในวงกว้างและการกระจายความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนได้ง่าย
สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ปฏิวัติวงการการเทรดด้วยการมอบความยืดหยุ่นในการเก็งกำไรทิศทางราคาของดัชนี พร้อมทั้งเข้าและออกจากตลาดได้ง่ายขึ้น หมายความว่า คุณสามารถทำกำไรจากการซื้อและขายสินทรัพย์ เช่น ดัชนี S&P 500 โดยไม่ต้องถือครองสินทรัพย์นั้น สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ยังช่วยให้คุณเข้าสู่ตลาดการลงทุนได้ด้วยเงินทุนเพียงเล็กน้อยอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) และดัชนีก็มีความเสี่ยงและอุปสรรคที่เทรดเดอร์ทุกคนควรตระหนักถึง ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพก็ตาม
บทความนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษาข้อดีและข้อเสียของการเทรดดัชนีด้วย CFD ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สามารถช่วยให้นักลงทุนได้เปรียบในโลกการเทรดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ดัชนีคืออะไร
ในโลกการเงิน ดัชนีเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนและเทรดเดอร์เข้าใจแนวโน้มของตลาดและสภาพเศรษฐกิจโดยรวมได้อย่างรวดเร็ว แล้วดัชนีคืออะไร? โดยหลักแล้ว ดัชนีเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดที่ประกอบขึ้นจากการรวบรวมผลการดำเนินงานของหุ้นหลายตัว เพื่อสะท้อนภาพรวมของตลาดหรือภาคอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ดัชนีเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินผลการดำเนินงานของการลงทุนแต่ละรายการ รวมถึงประสิทธิภาพของผู้จัดการกองทุน ดัชนีรวบรวมมูลค่าของหุ้นหลายตัวเข้าด้วยกัน จึงสะท้อนภาพรวมของความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาด และเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
องค์ประกอบสำคัญของดัชนีหลัก
ดัชนีหลักอย่าง S&P 500, Nasdaq 100 และ Dow Jones Industrial Average (DJIA) นั้นประกอบไปด้วยบริษัทที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และหลายดัชนีเหล่านี้ถือเป็น "ดัชนีมาตรฐาน" ที่ใช้เปรียบเทียบตัวอย่างเช่น
- ดัชนีดาวโจนส์ประกอบด้วยบริษัทชั้นนำ 30 แห่งของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเดิมทีสะท้อนผลการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะติดตามภาคเทคโนโลยี บริการทางการเงิน และค้าปลีก
- ดัชนี S&P 500 ประกอบด้วยหุ้นขนาดใหญ่ 500 บริษัท ซึ่งนำเสนอมุมมองที่ครอบคลุมตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น
- ดัชนี Nasdaq 100 มุ่งเน้นที่ภาคเทคโนโลยีเป็นหลัก
ดัชนีหุ้นสามอันดับแรกที่ได้รับความนิยมในการเทรด CFD ตามปริมาณการซื้อขาย
แต่ละดัชนีมีเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบ โดยมักจะพิจารณาจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด สภาพคล่อง และสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรม องค์ประกอบเหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบและอัปเดตเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าดัชนีหุ้นยังคงสะท้อนภาพของกลุ่มตลาดเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
ดัชนีที่ได้รับความนิยมอื่นๆ ได้แก่
- S&P/ASX 200
- CAC 40
- DAX
- EURO STOXX 50
- FTSE 100
- Hang Seng
- Nikkei 225
ดัชนีหุ้นบอกอะไรเกี่ยวกับสภาพตลาด
ดัชนีเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการสะท้อนสภาวะของตลาดการเงินและเศรษฐกิจ การที่ดัชนีมีแนวโน้มสูงขึ้นบ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของมูลค่ารวมของหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบ ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในทางกลับกัน การลดลงของดัชนีหุ้นบ่งชี้ถึงการลดลงของราคาหลักทรัพย์ ซึ่งอาจสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือความไม่มั่นใจของนักลงทุน การสังเกตรูปแบบเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการประเมินความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวม ยิ่งไปกว่านั้น ผลการดำเนินงานของดัชนีหลักทรัพย์สำคัญมีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายและลงทุนที่มีผลต่อสภาพเศรษฐกิจในภาพรวม
ข้อดีและความเสี่ยงของการเทรดดัชนี
การเทรดดัชนีเป็นกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนและกระจายความเสี่ยงได้ดี อย่างไรก็ตาม การซื้อขายดัชนีผ่าน CFD นั้นมีความเสี่ยงสำคัญที่ควรทราบ เช่น ภาวะตลาดขาลงและปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งอาจส่งผลต่อผลการดำเนินงานของดัชนี
ข้อดี
- ข้อดีของการกระจายความเสี่ยง: การเทรดดัชนีหุ้นช่วยให้เทรดเดอร์กระจายการลงทุนไปยังหุ้นหลายตัวภายในดัชนีเดียว ลดความเสี่ยงจากการถือครองหุ้นเพียงไม่กี่ตัว
- ต้นทุนที่ลดลงและประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น: การเทรดดัชนีมักจะมีค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต่ำกว่าและใช้ทรัพยากรน้อยกว่าการซื้อหลักทรัพย์รายตัวหลายรายการ ส่งผลให้เกิดความคุ้มค่าและช่วยประหยัดเวลาสำหรับนักลงทุน
- การเข้าถึงตลาดได้อย่างครอบคลุม: การเทรดดัชนีเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์เข้าถึงกลุ่มอุตสาหกรรมหรือตลาดทั้งหมดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการจับความเคลื่อนไหวของภาคธุรกิจเฉพาะหรือแนวโน้มตลาดโดยรวมผ่านการทำธุรกรรมเดียว
ความเสี่ยง
- ความเสี่ยงจากตลาด: การเทรดดัชนีหุ้นมีความเสี่ยงจากภาวะตลาดโดยรวม หมายความว่า หากตลาดหลักทรัพย์โดยรวมมีแนวโน้มลดลง มูลค่าของกองทุนดัชนีหรือตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงดัชนีนั้นก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เทรดเดอร์มีความเสี่ยงต่อภาวะตลาดขาลงทั่วระบบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลักทรัพย์เกือบทั้งหมด
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง: ถึงแม้ดัชนีหลักทั่วไปจะมีสภาพคล่องสูง แต่การซื้อขายดัชนีที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าหรือในช่วงเวลาที่มีความตึงเครียดในตลาด อาจส่งผลให้สภาพคล่องลดลงได้ สิ่งนี้อาจนำไปสู่ช่องว่างระหว่างราคาซื้อและขายที่กว้างขึ้น หรือทำให้การซื้อขายในราคาที่ต้องการทำได้ยากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อผลตอบแทน
- การขาดความหลากหลาย: การเทรดดัชนีมักมีความหลากหลายในการลงทุนระดับหนึ่ง แต่ถ้าดัชนีนั้นเน้นไปที่บางอุตสาหกรรมหรือบริษัท อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการขาดความหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น ดัชนีที่เน้นหุ้นเทคโนโลยีเป็นหลัก อาจประสบภาวะขาดทุนอย่างรุนแรงในช่วงที่ภาคเทคโนโลยีเผชิญกับภาวะตกต่ำ
การเทรดดัชนีระยะสั้นและการเทรดดัชนีระยะยาว
เทรดเดอร์มักเลือกใช้กลยุทธ์การเทรดดัชนีระยะสั้นหรือระยะยาว โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการลงทุน ความสามารถในการรับความเสี่ยง และการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาด โดยทั่วไป การเทรดระยะสั้นเป็นการถือครองสถานะเป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน โดยเน้นการทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาเล็กน้อย ในขณะที่การเทรดระยะยาวอาจยืดเยื้อเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยเน้นการทำกำไรจากแนวโน้มราคาหลักและการเปลี่ยนแปลงทางปัจจัยพื้นฐาน
กลยุทธ์การเทรดดัชนีระยะสั้น
การเทรดดัชนีระยะสั้นจำเป็นต้องมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วเพื่อใช้ประโยชน์จากความผันผวนของตลาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความสำคัญไม่อยู่ที่วิธีการเทรดดัชนีรายวันเท่านั้น นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังสามารถเลือกการเทรดแบบ Scalping ซึ่งเป็นการเทรดระยะสั้นอีกแบบหนึ่ง
การเทรดแบบเดย์เทรด หมายถึงการเปิดและปิดสถานะการลงทุนภายในวันเดียว เทรดเดอร์สามารถทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาดัชนีของเครื่องมือทางการเงินในหนึ่งวัน
การเทรดแบบ Scalping คือการเปิดและปิดสถานะการลงทุนหลายครั้งเพื่อทำกำไรในแต่ละครั้งในปริมาณน้อยๆ ขณะที่เทรดแบบเดย์เทรดจะมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาภายในวันทำการเดียว
ทุกกลยุทธ์การเทรดจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ของตลาดและการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพื่อทำกำไรสูงสุด เพราะการเทรดระยะสั้นอาจมีค่าใช้จ่ายสูงจากค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชั่น
กลยุทธ์การเทรดดัชนีระยะยาว
การเทรดดัชนีหุ้นในระยะยาวจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตของเงินต้นในระยะยาว ประเด็นดังกล่าวไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของราคาภายในวัน แต่เป็นการสร้างพอร์ทการลงทุนที่มีมูลค่าเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว
เทรดเดอร์ที่เทรดแบบ Swing trade จะถือครองสถานะการลงทุนเป็นระยะเวลาหลายวันเพื่อจับจังหวะการเคลื่อนไหวของราคาที่ใหญ่กว่า
การเทรดแบบ Position Trading คือการถือสถานะไว้เป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ เพื่อทำกำไรจากแนวโน้มในระยะยาว แทนที่จะให้ความสำคัญกับความผันผวนของตลาดในระยะสั้น
การกระจายการลงทุน คือการกระจายสถานะไปยังกองทุนดัชนีต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงและเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการเติบโตของภาคส่วนต่างๆ ในตลาด
กลยุทธ์การลงทุนระยะยาวแต่ละประเภทจำเป็นต้องอาศัยความอดทน ความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการยอมรับความผันผวนของตลาด ซึ่งจะช่วยให้เดินหน้าสู่เป้าหมายทางการเงินได้อย่างมั่นคง
การวิเคราะห์ทางเทคนิคและรูปแบบกราฟ
การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นเครื่องมือหลักที่เทรดเดอร์ทุกคนที่เทรดดัชนีต้องใช้ ไม่ว่าจะเลือกใช้กลยุทธ์ระยะสั้นหรือระยะยาว เทรดเดอร์จะใช้ข้อมูลราคาในอดีตและเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ เพื่อคาดการณ์ว่าในอนาคตตลาดจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางใด รูปแบบกราฟประเภทหัวและไหล่ สามเหลี่ยม และธง เป็นรูปแบบที่ใช้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจทิศทางของตลาด และคาดการณ์จุดที่ราคาอาจเกิดการเทรดแบบ breakout หรือรูปแบบกลับตัว เทรดเดอร์พยายามเรียนรู้การอ่านรูปแบบกราฟร่วมกับการใช้อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่นๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการกำหนดจังหวะการเข้าและออกจากตลาด
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้รูปแบบแท่งเทียนและ Fibonacci retracement สำหรับการเทรดดัชนี
ความสำคัญของคำสั่ง Stop Loss และ Take Profit
ในบางครั้ง ตลาดการเทรดดัชนีมีความผันผวนสูงมาก ดังนั้นการใช้คำสั่ง Stop Loss และ Take Profit จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง คำสั่ง Stop Loss จะปิดการซื้อขายโดยอัตโนมัติเมื่อราคาถึงระดับที่กำหนดไว้ ซึ่งมักจะเป็นราคาที่ขาดทุน เพื่อจำกัดความเสียหายและรักษาผลกำไรที่ได้ ส่วนคำสั่ง Take Profit นั้นเป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถปิดสถานะการลงทุนและรักษาผลกำไร หรือปิดสถานะการลงทุนด้วยการขาดทุนที่น้อยลง การดำเนินการตามคำสั่งซื้อขายเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยง และปกป้องการลงทุนของคุณจากความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดดัชนี
เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเทรดดัชนี
ไม่สามารถรับประกันได้ 100% ว่าจะมีเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเทรดดัชนี การรู้ว่าช่วงเวลาใดที่ตลาดมีความเคลื่อนไหวมากที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทันทีที่ตลาดเปิดทำการ ตั้งแต่เวลา 9:30 น. ถึง 10:30 น. เขตเวลาตะวันออก (ET) มักเป็นช่วงที่ตลาดคึกคักที่สุด เนื่องจากเทรดเดอร์กำลังตอบสนองต่อข่าวสารและเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตลาดปิดครั้งล่าสุด จำไว้ว่า ช่วงเวลาที่เปิดให้เทรดดัชนีแต่ละตัวจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเทศที่ตั้ง
ถ้าคุณเพิ่งเริ่มเทรด ช่วงเวลาที่ตลาดคึกคักแบบนี้ อาจจะทำให้คุณขาดทุนได้ง่าย เพราะราคาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้กลไกการทำงานของตลาด จังหวะที่ดีที่สุดในการเทรดคือช่วงที่ตลาดที่คุณสนใจเพิ่งเปิดทำการ เวลาที่ดีที่สุดในการเทรดดัชนีนั้นขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดของแต่ละคน เทรดเดอร์แต่ละคนมีกลยุทธ์การเทรดที่แตกต่างกัน บางคนชอบช่วงเวลาที่ตลาดคึกคัก ส่วนบางคนชอบช่วงเวลาที่ตลาดสงบ เทรดเดอร์บางรายยังใช้ระบบเทรดอัตโนมัติช่วยเทรดให้ในบางช่วงเวลาของวันด้วยเช่นกัน
ช่วงเวลาการเทรดดัชนี
ช่วงเวลาซื้อขายทั้งหมด คือ เวลาของเซิร์ฟเวอร์ (GMT + 0)
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาของดัชนี
การเรียนรู้ว่าอะไรทำให้ดัชนีราคาขึ้นลงนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ดัชนีตลาดหุ้นก็เหมือนเทอร์โมมิเตอร์ที่บอกให้เราทราบว่าเศรษฐกิจหรือภาคส่วนนั้นๆ กำลังเป็นอย่างไร เมื่อมีข่าวเศรษฐกิจออกมา เช่น รายงานการจ้างงาน รายงานผลประกอบการ หรือการตัดสินใจของธนาคารกลาง ข่าวเหล่านี้สามารถทำให้ตลาดผันผวนและส่งผลให้ดัชนีราคาเปลี่ยนแปลงได้ หากบริษัทขนาดใหญ่ในดัชนีมีผลประกอบการดีกว่าหรือแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลให้มูลค่าของดัชนีขยับขึ้นหรือลง เนื่องจากราคาหุ้นของบริษัทนั้นเปลี่ยนแปลงไป
นอกจากข่าวเศรษฐกิจแล้ว การเปลี่ยนแปลงรายชื่อบริษัทในดัชนียังส่งผลต่อราคาดัชนีได้ด้วย ถ้าบริษัทในดัชนีมีผลประกอบการที่ไม่ดีนักและถูกตัดออกจากดัชนีตลาดหุ้น หรือมีบริษัทใหม่ที่น่าสนใจเข้ามาเพิ่ม ก็จะทำให้ดัชนีตลาดหุ้นขยับขึ้นหรือลงได้ นอกจากนี้ ราคาของสินทรัพย์ เช่น น้ำมันและโลหะก็ส่งผลต่อดัชนีบางตัวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดัชนีนั้นประกอบไปด้วยบริษัทจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านั้น
บางครั้ง เหตุการณ์สำคัญระดับโลก เช่น สงคราม หรือภัยธรรมชาติ ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดทั่วโลก ทำให้ราคาดัชนีผันผวนอย่างรุนแรงได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือปฏิกิริยาของนักลงทุนต่อเหตุการณ์เหล่านี้ ข่าวสารเชิงบวกมีแนวโน้มที่จะผลักดันราคาให้สูงขึ้น ในขณะที่ข่าวสารเชิงลบอาจกดดันให้ราคาลดลง ดัชนีตลาดหุ้นก็เหมือนแหวนแห่งอารมณ์ที่บอกอารมณ์ของนักลงทุนที่มีต่อเศรษฐกิจ
การเทรด CFD นั้นต่างจากการลงทุนแบบดั้งเดิมในหุ้นและดัชนี เพราะคุณมีโอกาสทำกำไรได้แม้ในตลาดขาลงด้วยการขาย
วิธีคำนวณดัชนีตลาดหุ้น
การคำนวณดัชนีหุ้นมักจะพิจารณาจากขนาดของบริษัทที่อยู่ในดัชนี โดยเฉพาะมูลค่าตลาด ซึ่งก็คือมูลค่ารวมของหุ้นทั้งหมดของบริษัทนั้น บริษัทใหญ่มีอิทธิพลต่อการคำนวณดัชนีมากกว่าบริษัทเล็ก หากบริษัทใหญ่ไปได้ดี (หรือไม่ดี) ก็จะส่งผลทำให้มูลค่าของดัชนีเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า แต่ไม่ใช่ทุกดัชนีที่จะเป็นแบบนั้น ดัชนีบางตัวให้ความสำคัญกับราคาหุ้นของบริษัทเป็นหลัก บริษัทที่มีราคาหุ้นสูงจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนีมากกว่า ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อการเคลื่อนไหวของดัชนี
หุ้น 10 อันดับแรกในดัชนี Nasdaq 100 ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดจากการเผยแพร่ข้อมูลประจำเดือนนี้
กลยุทธ์การเทรดดัชนีขั้นสูง
เทรดเดอร์มืออาชีพที่ต้องการยกระดับการเทรดดัชนี สามารถใช้กลยุทธ์ขั้นสูงเพื่อลดความเสี่ยงและทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก
การป้องกันความเสี่ยง (Hedging)
สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) เป็นเครื่องมือที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในพอร์ทการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเปิดสถานะใน CFD ดัชนีที่ตรงกันข้ามกับการลงทุนที่มีอยู่ สามารถปกป้องการลงทุนใน ETF และผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเทรด CFD เป็นเหมือนรูปแบบประกันภัยเชิงกลยุทธ์ หากสถานะหนึ่งขาดทุน สถานะอื่นจะช่วยชดเชยการขาดทุน แสดงให้เห็นถึงการใช้งานจริงของการเทรด CFD ในมุมมองการบริหารความเสี่ยง
การกระจายความเสี่ยง
การรวมดัชนีทั่วโลกเข้าในพอร์ทการลงทุนของคุณช่วยกระจายความเสี่ยงและเปิดโอกาสให้คุณเข้าถึงภาคเศรษฐกิจและภูมิภาคต่างๆ ได้มากขึ้น การกระจายการลงทุนไปยังตลาดต่างๆ นั้นเป็นการช่วยลดความเสี่ยงและเปิดโอกาสให้คุณได้รับผลตอบแทนจากการเติบโตของตลาดต่างๆ ทั่วโลก การเข้าใจวิธีการเทรดดัชนีจากทั่วโลกสามารถช่วยลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศและคว้าโอกาสจากการเติบโตของตลาดเกิดใหม่
การบริหารความเสี่ยงในการเทรดดัชนี
เมื่อคุณต้องการเทรดดัชนี การมีกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่ดีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องการลงทุนและบรรลุเป้าหมายทางการเงินของคุณ แผนการที่วางไว้อย่างดีจะช่วยให้คุณเข้าใจตลาดหุ้นที่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงของเวลาทำการ และรู้เวลาที่เหมาะสมในการเริ่มเทรดได้ดียิ่งขึ้น เราจะเจาะลึกเทคนิคสำคัญในการบริหารความเสี่ยงและความสำคัญของการจัดการจิตวิทยาการเทรด
เทคนิคสำหรับการบริหารความเสี่ยง
- ประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของคุณ: ก่อนที่จะเริ่มเทรดดัชนี คุณต้องประเมินว่าคุณสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน สิ่งนี้กำหนดว่าคุณสามารถรับมือกับความผันผวนของมูลค่าตลาดได้มากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำหนดว่าขีดจำกัดการขาดทุนของคุณคือ 10% ให้เลือกดัชนีเคยมีประวัติการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงนี้
- กำหนดเป้าหมายการเทรดของคุณ: ไม่ว่าคุณจะต้องการกำไรเร็ว หรือการเติบโตระยะยาว ให้ตั้งเป้าหมายการเทรดที่ชัดเจน เลือกดัชนีให้ตรงกับเป้าหมายการลงทุน เช่น ถ้าอยากได้ความมั่นคงก็เลือกหุ้นใหญ่ หากต้องการโอกาสในการเติบโตก็เลือกดัชนีตลาดเกิดใหม่
- กระจายเงินทุนของคุณอย่างเท่าเทียม: จัดสรรการลงทุนของคุณให้สอดคล้องกับทั้งความสามารถในการรับความเสี่ยงและเป้าหมายการเทรดของคุณ แนวทางที่สมดุลอาจเป็นการกระจายเงินลงทุนไปในตลาดและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หรือจะเลือกเน้นลงทุนในบางอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะโตเร็วก็ได้
- ติดตามและปรับตัว: พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนและทบทวนกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ใช้ช่วงเวลาซื้อขายที่มีอยู่อย่างรอบคอบเพื่อปรับเปลี่ยนแบบเรียลไทม์ และเพื่อให้มั่นใจว่าแนวทางของคุณยังคงมีความเกี่ยวข้องและตรงเป้าหมาย
- พัฒนาความรู้ในการเทรดอยู่เสมอ: ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่แพลตฟอร์มการเทรดของ Exness มีให้ เพื่อให้คุณอัปเดตข้อมูลและปรับใช้วิธีบริหารความเสี่ยงใหม่ๆ การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถช่วยให้การตัดสินใจในการเทรดของคุณดีขึ้นอย่างมาก
การจัดการจิตวิทยาการเทรด
การเทรดไม่ใช่แค่กลยุทธ์และตัวเลข แต่ยังต้องมีการจัดการอารมณ์ที่ดีด้วย ความกลัวและความโลภสามารถทำให้แม้แต่เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์สูงล้มเหลวได้ ทำความรู้จักอารมณ์เหล่านี้และใช้กลไกต่างๆ เช่น คำสั่ง Stop Loss ที่เข้มงวด เพื่อบรรเทาการขาดทุน
- ให้ความสำคัญกับวินัย: วินัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในโลกการเทรดดัชนีที่มีความผันผวน ปฏิบัติตามแผนการเทรดที่วางไว้ และใช้เครื่องมือช่วยในการตัดสินใจให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงแผนการเทรดของคุณ ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่จะทำให้เสียใจภายหลัง
- ยอมรับและจัดการกับการขาดทุน: การขาดทุนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีค่าเหล่านั้นได้ วิเคราะห์สาเหตุของการขาดทุนแต่ละครั้งอย่างละเอียด เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยอมรับความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้การเทรดประสบความสำเร็จ
การพัฒนาทักษะทางจิตวิทยาการเทรดนั้น จำเป็นต้องอาศัยการผสมผสานระหว่างเทคนิคการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมอารมณ์
ทำไมต้องเทรดดัชนีเมื่อเทียบกับการเทรดหุ้นและฟอเร็กซ์
เมื่อคุณต้องการเทรดในตลาดการเงิน คุณจะเผชิญกับตัวเลือกหลายอย่าง รวมถึงการเทรดหุ้นรายตัว การเข้าสู่ตลาดฟอเร็กซ์ และการสำรวจดัชนี การเทรด CFD ของดัชนีเป็นตัวเลือกที่หลายคนนิยม ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้จากเหตุผลหลายประการ
ประการแรก ดัชนีให้ระดับของการกระจายความเสี่ยงที่ยากจะทำได้เมื่อซื้อขายหุ้นรายตัวที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดัชนีเปรียบเสมือนตะกร้าที่ประกอบด้วยสินทรัพย์หลากหลายประเภท แม้ว่าสินทรัพย์บางตัวในดัชนีอาจมีมูลค่าลดลง แต่สินทรัพย์อื่นๆ อาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดความผันผวนโดยรวมได้ สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งเพราะดัชนีมักจะผันผวนน้อยกว่าหุ้นรายตัว ยกเว้นกรณีที่มีเหตุการณ์สำคัญในตลาด
นอกจากนี้ ตลาดดัชนียังเป็นทางเลือกในการป้องกันความเสี่ยง ถ้าคุณลงทุนในบริษัทเดียว แล้วบริษัทนั้นล้มละลาย เงินลงทุนของคุณอาจหายไปทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดัชนีประกอบด้วยหลายบริษัท ผลกระทบจากการที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งทำผลงานได้ไม่ดีจึงไม่รุนแรงมากนัก ดัชนีมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ หุ้นที่อ่อนแอจะถูกแทนที่ด้วยหุ้นที่แข็งแกร่งกว่า เพื่อรักษาสภาวะโดยรวมของดัชนี
เปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทน
แต่ในทางกลับกัน การเทรด CFD ดัชนีก็อาจทำให้พลาดโอกาสลงทุนในหุ้นเดี่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็วและทำกำไรได้มหาศาล แต่ต้องเข้าใจว่า ผลตอบแทนที่สูงขึ้นมักมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น และความผันผวนของราคาที่มากขึ้น ซึ่งอาจไม่เหมาะกับนักลงทุนทุกคน
เมื่อเปรียบเทียบการเทรดดัชนีกับตลาดฟอเร็กซ์ จะเห็นได้ว่าทั้งสองตลาดมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน การเทรดฟอเร็กซ์ คือการเก็งกำไรจากการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินคู่หนึ่ง ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องสภาพคล่องสูงและการเปิดให้เทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถให้ความได้เปรียบจากการใช้เลเวอเรจที่สูงกว่าทำให้มีโอกาสทำกำไรที่มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางกลับกัน ตลาดดัชนีมีลักษณะที่เสถียรกว่า โดยทั่วไปจะมีเงื่อนไขการซื้อขายที่ใช้เลเวอเรจที่ต่ำกว่า ทำให้เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงสูง
โดยสรุป การเทรด CFD ดัชนีอาจเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนและมีแนวทางการลงทุนที่สมดุลมากกว่านักลงทุนที่ชอบความท้าทายในการเทรดฟอเร็กซ์หรือผลตอบแทน (และความเสี่ยง) สูงจากการเลือกหุ้นรายตัว
วิธีเทรดดัชนีตลาดหุ้น
ดัชนีต่างๆ เปิดโอกาสให้เทรดเดอร์เข้าถึงผลการดำเนินงานของหุ้นบริษัทต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม เนื่องจากมีแพลตฟอร์มการเทรดออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่าย ทุกคนจึงสามารถเริ่มเทรด CFD ดัชนี เช่น S&P 500 หรือดาวโจนส์ ได้อย่างสะดวกจากที่บ้านด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย ด้านล่างนี้คือคู่มือฉบับรวบรัดสำหรับการเทรดดัชนีกับ Exness ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ชั้นนำที่มอบประสบการณ์การเทรดที่ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 1: เลือกโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ
เริ่มต้นด้วยการเลือกโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ยกตัวอย่างเช่น Exness ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความน่าเชื่อถือ และมีดัชนีให้เทรดหลากหลาย
ขั้นตอนที่ 2: ลงทะเบียนและเลือกประเภทบัญชีซื้อขาย
หลังจากตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการตั้งค่าบัญชีซื้อขาย ขั้นตอนนี้ง่ายดายและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมนอกจากเงินฝากขั้นต่ำที่กำหนดไว้ เว้นแต่คุณเลือกที่จะเปิดบัญชีทดลองเทรดก่อน ที่ Exness คุณอาจถูกขอให้ทำการยืนยันบัญชีของคุณก่อนที่จะฝากเงินและเทรดในจำนวนมาก ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณอาศัยอยู่
ขั้นตอนที่ 3: ฝากเงินเข้าบัญชีของคุณ
หลังจากลงทะเบียนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการฝากเงินเพื่อเริ่มต้นการเทรด Exness รองรับการฝากเงินหลายสกุลเงินหลัก ทำให้กระบวนการฝากเงินเป็นไปอย่างราบรื่น
ขั้นตอนที่ 4: เลือกแพลตฟอร์มการเทรดที่คุณต้องการ
เทรดได้ทุกที่ ทุกเวลา เลือกได้เลยว่าจะเทรดผ่านแพลตฟอร์มบนคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชั่นเทรดบนมือถือ
ขั้นตอนที่ 5: เลือกดัชนีที่คุณต้องการ
หลังจากที่คุณเตรียมบัญชีและฝากเงินเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถเลือกเทรดดัชนีต่างๆ ได้มากมายบนแพลตฟอร์ม Exness เช่น Nasdaq 100 (สัญลักษณ์ USTEC) หรือ Hang Seng HK50
ขั้นตอนที่ 6: ตัดสินใจเลือกกลยุทธ์การเทรด
การวางแผนกลยุทธ์การเทรดเป็นสิ่งสำคัญก่อนเริ่มเทรดดัชนี การวางแผนกลยุทธ์การเทรดประกอบด้วยการกำหนดเงินทุนสำหรับการเทรด การเรียนรู้การใช้อินดิเคเตอร์ต่างๆ การทำความเข้าใจสัญญาณของรูปแบบแท่งเทียน การตั้งค่า Stop Loss และ Take Profit และการประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อย่าลืมประเมินปริมาณการขาดทุนที่คุณพร้อมจะรับ โดยทั่วไปแล้ว การกำหนดขอบเขตการลงทุนที่คุณยอมรับได้ เป็นหลักการพื้นฐานที่ดีในการเทรด การประสบความสำเร็จในการเทรดดัชนีต้องอาศัยทั้งการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 7: เปิดคำสั่งซื้อขาย
เมื่อคุณมีกลยุทธ์ที่พร้อมแล้ว ก็ถึงเวลาลงมือเทรดตามแผนที่วางไว้ ขั้นตอนนี้รวมถึงการกำหนดจำนวนเงินลงทุน กำหนดทิศทางการเทรด (ซื้อหรือขาย) และตั้งค่า Stop Loss และ Take Profit
ขั้นตอนที่ 8: ติดตามสถานะ
หลังจากเริ่มต้นการเทรดแล้ว ให้ติดตามความเคลื่อนไหวของการเทรดอย่างใกล้ชิด คุณสามารถปิดคำสั่งซื้อขายได้ทุกเมื่อที่จำเป็น เพื่อรักษากำไรหรือจำกัดการขาดทุน
ถึงแม้จะมีการใช้เครื่องมือหรือกลยุทธ์การเทรดด้วยอัลกอริทึมที่ดำเนินการบางอย่างโดยอัตโนมัติ แต่การติดตามผลการเทรดเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
คำถามที่พบบ่อย
กลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับการเทรดดัชนีคืออะไร
กลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการเทรดดัชนีมักเป็นการใช้หลายๆ วิธีร่วมกัน เพื่อปรับให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป
- การเทรดตามแนวโน้ม หมายถึงการเทรดที่เกี่ยวข้องกับการระบุและติดตามทิศทางของตลาด ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง เพื่อทำกำไรในระยะยาวและระยะสั้น
- การเทรดตามโมเมนตัม คือการเข้าซื้อขายตามแรงส่งของตลาด โดยเข้าซื้อเมื่อราคาของดัชนีกำลังเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
- การเทรดตามการย้อนกลับ คือการหาโอกาสในการเข้าซื้อขายเมื่อตลาดมีการเคลื่อนไหวสวนทางกับแนวโน้มหลักชั่วคราว ซึ่งอาจเป็นจุดเข้าซื้อที่ดี
- การเทรดแบบทะลุกรอบ คือการมองหาการเคลื่อนไหวของราคาที่ทะลุผ่านช่วงราคาที่เคยเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มใหม่
- การเทรดตามจุดกลับตัว คือการมองหาจังหวะที่แนวโน้มปัจจุบันสิ้นสุดลง และแนวโน้มใหม่ที่ตรงกันข้ามกำลังเริ่มต้นขึ้น
การเทรดดัชนีทำกำไรได้หรือไม่?
การเทรดดัชนีอาจให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ต้องใช้ความระมัดระวังและจัดการความเสี่ยงอย่างรอบคอบ ดัชนีมักมีความผันผวนสูง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากข่าวเศรษฐกิจใหม่ๆ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ทำให้การเทรดดัชนีให้ประสบความสำเร็จเป็นเรื่องที่ท้าทาย
ต้องใช้เงินจำนวนเท่าไหร่ในการเริ่มเทรดดัชนี
ในการเปิดสถานะในตลาดเมื่อเทรดดัชนีผ่านสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) คุณจำเป็นต้องวางเงินมัดจำเริ่มต้นเพียงเล็กน้อยที่เรียกว่ามาร์จิ้น และคุณมีตัวเลือกในการเทรดโดยใช้เลเวอเรจซึ่งเพิ่มการเปิดรับความเสี่ยงในตลาดของคุณ แต่ก็สามารถทำให้การขาดทุนของคุณเพิ่มขึ้นหลายเท่าหากตลาดไม่เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อคุณ โบรกเกอร์อย่าง Exness มีบัญชีเทรดที่หลากหลาย เช่น บัญชี Standard ซึ่งต้องใช้เงินฝากเริ่มต้นน้อย ทำให้การเริ่มต้นเทรดเป็นเรื่องง่าย
ดัชนีอะไรบ้างที่สามารถเทรดได้?
ดัชนีที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดบางตัว ได้แก่ ดัชนีดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average) ซึ่งประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่ 30 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ, S&P 500 ซึ่งเป็นดัชนีอ้างอิงที่รวมบริษัทชั้นนำ 503 แห่งในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ, Nasdaq 100 ซึ่งมีน้ำหนักเอนเอียงไปทางบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก และประกอบด้วยหลักทรัพย์ 101 รายการจากบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ซึ่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ เช่นกัน และยังมี FTSE 100 ของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 100 แห่งในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนอีกด้วย ดัชนีเหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจากเทรดเดอร์ เนื่องจากเป็นดัชนีหลักที่มีบริษัทขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงจากตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ
สามารถเทรดดัชนีแบบเดย์เทรดได้หรือไม่?
แน่นอน คุณสามารถเทรดดัชนีแบบเดย์เทรดได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เปิดและปิดสถานะการลงทุนภายในวันเดียวกันเพื่อทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้น หากคุณต้องการเรียนรู้การเทรดดัชนีแบบเดย์เทรด คุณต้องเข้าใจหลักการสำคัญคือ การซื้อขายทั้งหมดต้องเกิดขึ้นและจบลงภายในวันเดียวกัน วิธีนี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดสถานะค้างไว้ข้ามคืน
การเทรดดัชนีง่ายกว่าการเทรดฟอเร็กซ์หรือไม่?
ความยากง่ายจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีการและกลยุทธ์การเทรดที่คุณเลือกใช้ เทรดเดอร์มือใหม่หลายคนที่คุ้นเคยกับตลาดหุ้นจากการลงทุนก่อนหน้านี้ อาจเลือกที่จะเริ่มต้นเทรด CFD ของดัชนีมากกว่าฟอเร็กซ์ ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน ทั้งสองประเภทต่างก็มีความเสี่ยงและผลตอบแทน
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีกับสัญญาการซื้อขายส่วนต่างคืออะไร
สัญญาซื้อขายดัชนีหุ้นล่วงหน้า เป็นสัญญาตราสารอนุพันธ์ที่ติดตามผลการดำเนินงานของดัชนีหุ้น เช่น S&P 500 หรือ FTSE 100 ของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ทำให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรเกี่ยวกับราคาในอนาคตของดัชนีได้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีนั้นต่างจากสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) เนื่องจากมีวันหมดอายุที่กำหนดโดยตลาดซื้อขายล่วงหน้า เมื่อคุณซื้อหรือขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า นั่นหมายความว่าคุณกำลังตกลงที่จะซื้อขายปริมาณที่กำหนดของดัชนีในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ณ วันที่ที่กำหนด สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีหุ้น รวมถึงสัญญาตราสารอนุพันธ์ดัชนีอื่นๆ เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดซื้อขายล่วงหน้า เนื่องจากช่วยให้นักลงทุนสามารถป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดหุ้นได้
ในทางกลับกัน สัญญาซื้อขายส่วนต่าง ไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ ทำให้คุณมีความยืดหยุ่นในการขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือปิดสถานะได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ทั้งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีและสัญญาซื้อขายส่วนต่าง สามารถซื้อขายแบบใช้มาร์จิ้นได้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการทำกำไรหรือขาดทุน แต่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีมักเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดหรือมีแผนการลงทุนระยะยาว ในทางกลับกัน สัญญาซื้อขายส่วนต่างเป็นที่ต้องการของเทรดเดอร์หลายกลุ่ม เนื่องจากเลเวอเรจ ค่าใช้จ่ายที่ประหยัด และความยืดหยุ่นในการซื้อขาย ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะเทรดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีหรือสัญญาซื้อขายส่วนต่างจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเทรดและระดับความยืดหยุ่นที่คุณต้องการเป็นหลัก
สิ่งที่จะคุณได้รับเมื่อเทรดดัชนีกับ Exness
หากคุณเลือกที่จะเริ่มต้นเทรดดัชนีกับ Exness คุณจะสามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนของคุณได้ โดยการเทรดดัชนีที่ได้รับความนิยมจากประเทศเศรษฐกิจหลักทั่วโลก เนื่องจากความเร็วเป็นสิ่งสำคัญ คุณจะได้ประสบการณ์การเทรดที่รวดเร็วเป็นพิเศษที่ Exness พร้อมสเปรดต่ำและเสถียร ซึ่งอาจช่วยให้เงินของคุณเติบโตได้มากขึ้น
นอกจากนี้ คุณยังสามารถมั่นใจได้ว่าเราจะดำเนินการถอนเงินทันที ด้วยฟีเจอร์ถอนเงินอัตโนมัติ สัมผัสประสบการณ์การเทรดด้วยสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณ ด้วยระบบที่คล่องตัวและมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด เพื่อให้คุณมั่นใจได้ในทุกการเทรด
แชร์
เริ่มเทรดเลย
ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ